ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกของ กาญจนาภรณ์ ดรุณศรี

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สหกรณ์


ประวัติสหกรณ์ 
         เมื่อมีการนำเอาเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานคน ในช่วงศตวรรษที่ 18 - 19  ทำให้พวกคนงาน ตกงานกันเป็นแถว  คนในสังคมขณะนั้น แบ่งเป็น สองฝ่าย อย่างชัดเจน  คือฝ่ายนายทุน  กับฝ่ายกรรมกร  ฝ่ายนายทุน ก็เอารัดเอาเปรียบฝ่ายกรรมกรทุกวิถีทางเพื่อแสวงหากำไร  ฝ่ายกรรมกร ก็หาทาง ที่จะปลด เปลื้อง ความทุกข์ยาก และ ความยากจนของตนทุกวิถีทางเช่นกัน
นายโรเบิร์ต   โอเว่น
                      นายโรเบิร์ต  โอเว่น  ชาวอังกฤษ  เป็นคนจนคนหนึ่ง  แต่ฉลาดรู้จักทำมาหากิน  จนไต่เต้าเป็น ผู้จัดการและมีหุ้นส่วนเป็นเจ้าของโรงงาน  มีความเห็นใจ พวกคนงาน  จึงปรับปรุงสภาพ ความเป็นอยู่ของคนงาน ให้ดีขึ้น  สอนให้รู้จักการช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  เพื่อขจัดปัญหา ความเดือดร้อนต่างๆ  ซึ่งก็คือ วิธีการ ของ ระบบสหกรณ์นั่นเอง
                    นายโรเบิร์ต  โอเว่น จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ให้กำเนินดการสหกรณ์ขึ้นในโลก  หรือบิดาแห่งการสหกรณ์  เขาเสนอให้มีการจัดตั้ง  " ชมรมสหกรณ์" (Coopcrative Community) ขึ้น  โดยให้ผลผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ ต่างๆ ขึ้นมาใช้เอง  โดยไม่ใช้เครื่องจักร  ให้ทรัพย์สินต่างๆ ของชมรม เป็นของ ส่วนรวม  เพื่อไม่ให้มีสภาพ ของฝ่าย นายทุนอยู่ในชมรม  แต่ปรากฏว่าจัดตั้งไม่สำเร็จ  โอเว่น จึงไปอเมริกาและทดลองจัดตั้งชมรมสหกรณ์ขึ้นที่  นิวฮาโมนี่  รัฐอินเดีนน่า  ในปี พ.ศ. 2368  ให้ชื่อว่า นิวฮาโมนี่ (New Harmony) แต่ได้ล้มเลิกไปในเวลาต่อมา  เนื่องจากไม่มีการคัดเลือกสมาชิก  และไม่มีกิจกรรมที่คุ้ม กับค่าใช้จ่าย  นอกจากนี้ ยังมีปัญหา เกี่ยวกับการปกครอง และ การศาสนาในสมัยนั้นอีกด้วย
การสหกรณ์ในประเทศไทย
                       ความคิดเรื่องการสหกรณ์เกิดขึ้นในประเทศไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ประมาณ พ.ศ. 2457 ในสมัยนั้นประเทศไทย ได้เริ่มมีการค้าขาย กับ ต่างประเทศมากขึ้น ระบบเศรษฐกิจชนบท เปลี่ยนจากระบบเลี้ยงตนเอง มาเป็นระบบเศรษฐกิจเพื่อการค้า ความต้องการเงินทุนในการขยายการผลิต และการครองชีพ การกู้ยืมเงินทุนจาก นายทุนท้องถิ่นที่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูง การถูกเอารัดเอาเปรียบ ในการขายผลผลิต สภาพดินฟ้าไม่อำนวย ทำให้ ผลผลิตได้รับความเสียหาย การเกิดหนี้สินพอกพูน จึงเกิดขึ้นกับเกษตรกร
                     จากสภาพปัญหาความยากจน  และหนี้สินดังกล่าว   ทำให้ทางราชการพยายามหาทางแก้ไข ต่อมารัฐบาลได้เชิญ เซอร์เบอร์นาร์ด ฮันเตอร์  ( Sir Benard Hunter) หัวหน้าธนาคารแห่งมัดราส ประเทศ อินเดีย เข้ามาสำรวจ หาลู่ทางช่วยเหลือเกษตรกร และได้เสนอว่าควรตั้ง ธนาคารให้กู้ยืม แห่งชาติ ”  ดำเนินการให้กู้ยืมแก่ราษฎร โดยมีที่ดิน และหลักทรัพย์อื่นเป็นประกันเพื่อมิให้ชาวนาที่กู้ยืมเงินหลบหนีหนี้สิน พร้อมทั้งแนะนำให้จัดตั้งสมาคม เรียกว่า โคออเปอร์เรทีพ โซไซตี้ ” (Cooperative Society) เพื่อควบคุมการกู้เงินและการเรียกเก็บเงินกู้ โดยใช้หลักการ ร่วมมือกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งคำนี้พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์   ได้ทรงบัญญัติศัพท์ เป็นภาษา ไทย ว่า สมาคมสหกรณ์จึงกล่าวได้ว่า ประเทศไทยเริ่มศึกษา วิธีการ สหกรณ์ ในปี 2457 แต่ยังมิได้ดำเนินการอย่างไร จนกระทั่งในปี 2458 ได้มีการจัดตั้งกรมสถิติพยากรณ์ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เป็นกรมพาณิชย์ และ สถิติ พยากรณ์ ประกอบด้วยส่วนราชการ 3 ส่วน คือ การพาณิชย์ การสถิติพยากรณ์ และการสหกรณ์
                      การตั้งส่วนราชการสหกรณ์นี้ก็เพื่อจะให้มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการทดลองจัดตั้งสหกรณ์ขึ้น และ พระราช วรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ในฐานะ อธิบดี กรมพาณิชย์ และสถิติพยากรณ์ขณะนั้น ได้ทรงพิจารณา เลือกแบบ อย่าง ของสหกรณ์แบบไรฟ์ไฟเซน ของประเทศเยอรมัน เป็นตัวอย่างขึ้น ในประเทศไทย เนื่องจาก มีความเหมาะสม กับภาวะเศรษฐกิจของเกษตรกรไทย ขณะนั้นมากกว่ารูปอื่น และได้ทดลองจัดตั้งสหกรณ์แห่งแรกของ ประเทศไทย ขึ้น ณ ท้องที่อำเภอเมือง จังหวัด พิษณุโลก ชื่อว่า สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ บริการเงินกู้แก่ สมาชิก โดยจดทะเบียน ตาม พระราชบัญญัติเพิ่มเติมสมาคม พ.ศ.2459 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459 มี พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เป็นนายทะเบียนสหกรณ์ พระองค์แรก สหกรณ์แห่งนี้มีสมาชิกแรกตั้ง จำนวน 16 คน ทุนดำเนินงาน 3,080 บาท เป็น ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 80 บาท และเงินทุนซึ่งกู้ จากแบงก์ สยามกัมมาจล ( ธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน) เป็นจำนวน 3,000 บาท มีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เป็นผู้ค้ำประกัน โดยเสีย ดอกเบี้ยให้ธนาคารในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี คิดดอกเบี้ยจากสมาชิกในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี กำหนดชำระหนี้ พร้อมดอกเบี้ยได้ตามกำหนด และยังมีเหลือพอเก็บไว้เป็นทุนต่อไป
                      แสดงให้เห็นว่าการนำวิธีการสหกรณ์เข้ามาช่วยแก้ไขความเดือดร้อนของเกษตรกรได้ผล ดังนั้น ทางราชการจึงได้ส่งเสริมการจัดตั้งสหกรณ์ หาทุน ขนาดเล็กในท้องถิ่นต่างๆ ที่ประสบปัญหาอย่างเดียวกัน ต่อมางานสหกรณ์ได้ขยายตัวกว้างขวางขึ้นมีการจดทะเบียนสหกรณ์ อีกหลายสหกรณ์ และการ จัดตั้งสหกรณ์ อีกหลายประเภท แต่เป็นสหกรณ์ขนาดเล็กที่ดำเนินธุรกิจแบบเอนกประสงค์ทั้งสิ้น จึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการ หรือแก้ไขปัญหา ของ เกษตรกรได้เต็มที่
          ทางรัฐบาลจึงได้ออกพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2511 เปิดโอกาสให้สหกรณ์ หาทุนขนาดเล็กที่ดำเนินธุรกิจเพียงอย่างเดียว ควบเข้าเป็นสหกรณ์ ขนาดใหญ่ ทำให้สามารถขยายการดำเนินธุรกิจเป็นแบบเอนกประสงค์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่สมาชิก ด้วยเหตุนี้สหกรณ์หาทุน จึงแปรสภาพเป็น สหกรณ์ การเกษตร มาจนถึง ปัจจุบัน ต่อมาในปี 2516 ได้มีการประกาศ กฎกระทรวงเกษตร และสหกรณ์แบ่งประเภทสหกรณ์ในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติ สหกรณ์ พ.ศ.2511 ออกเป็น 6 ประเภท คือ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคม สหกรณ์ประมง สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์ร้านค้า และสหกรณ์บริการ ซึ่งนับแต่สหกรณ์ได้ถือกำเนิดขึ้น ในประเทศไทย จวบจนปัจจุบัน ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ในธุรกิจต่างๆ ได้สร้างความเชื่อถือเป็นที่ไว้วางใจของสมาชิก จนทำให้จำนวนสหกรณ์เพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบัน มีสหกรณ์ ทั่วประเทศ ปี 2544 จำนวน 5,965 สหกรณ์ สมาชิก 7,913,073 คน การสหกรณ์ในประเทศไทย จึงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ และสังคม ที่ช่วยแก้ไขปัญหา ในการประกอบอาชีพ และช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น

วัตถุประสงค์ของสหกรณ์  
             สหกรณ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และ สังคม ของบรรดาสมาชิก โดยวิธีช่วย ตนเอง  และ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ร่วมกันตามหลักการสหกรณ์ รวมทั้งในข้อต่อไปนี้ด้วย
ส่งเสริมให้สมาชิกออมทรัพย์โดยช่วยให้สงวนส่วนแห่งรายได้ของตนไว้ในทางอันมั่นคง และ ได้รับประโยชน์ตามสมควร  
ส่งเสริมการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกัน และกันในหมู่สมาชิกรับฝากเงินจากสมาชิกและ สหกรณ์อื่น
จัดหาทุนเพื่อกิจการตามวัตถุประสงค์
จัดให้มีเงินกู้สำหรับสมาชิกตามข้อกำหนดอันสมควร
  ให้สหกรณ์กู้ยืมเงินได้ ตามระเบียบของสหกรณ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน สหกรณ์
ดำเนินการให้กู้ยืมเพื่อการเคหะ
ให้สวัสดิการและการสงเคราะห์ตามสมควรแก่สมาชิกและครอบครัว
ดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของสหกรณ์ เพื่อประโยชน์ของสมาชิก
ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน และ ตราสารการเงิน
ซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน และ ตราสารการเงิน
ร่วมมือกับทางราชการ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ชุมนุมสหกรณ์ และสหกรณ์อื่นเพื่อส่งเสริม และปรับปรุงกิจการของสหกรณ์
กระทำการต่างๆ ตามที่อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์    ที่กล่าวข้างต้น ทั้งนี้ รวมถึงการถือกรรมสิทธิ์หรือทรัพย์ครอบครอง ซื้อแลกเปลี่ยน โอน หรือรับโอน    เช่า หรือให้เช่า ซื้อ จำนอง หรือรับจำนอง จำนำหรือรับจำนำ ขาย หรือ จำหน่ายซึ่งทรัพย์สิน แก่สมาชิก หรือของสมาชิกตลอดจนดำเนินกิจการอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือ เนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ด้วย
ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่สมาชิกขอหรือรับความช่วยเหลือ ทางวิชาการราชการ      หน่วยงานของต่างประเทศ หรือบุคคลอื่นใดดำเนินกิจการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวเนื่องใน     การจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์